Blog
พริกน้ำปลาเชสเตอร์
อยากได้พริกน้ำปลาที่รสชาติจัดจ้าน เปรี้ยว เค็ม เผ็ดลงตัว เหมือนร้านไก่ย่างชื่อดังบ้างไหม? พริกน้ำปลาเป็นเมนูคู่ครัวที่ทำง่าย แต่ถ้าทำออกมาแล้วรสชาติไม่ถึงใจ ก็อาจจะทำให้มื้ออาหารดูจืดชืดไปได้ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะครัวเจ๋งมีสูตรอร่อยอยากแชร์วิธีทำพริกน้ำปลาให้มีรสกลมกล่อมลงตัว แค่ได้กลิ่นก็หิวแล้ว เพียงใส่พริกจินดาซอย ผสมกระเทียมจีน บีบมะนาวสดตามทันที จะไม่ทำให้พริกเปลี่ยนเป็นสีดำ ราดหน้าไข่ดาว ข้าวปลานิลแกะ คลุกข้าวสวยร้อนๆ แล้วอร่อยจนหยุดไม่ได้เลย! ควรเก็บพริกน้ำปลาในตู้เย็น และทานให้หมดภายใน 1 – 2 วัน เพื่อคงรสชาติที่ดีที่สุด
ส่วนประกอบ
● พริกจินดาสีเขียว สีแดง
● กระเทียมจีนหั่น
● น้ำปลาปรุง ตรา ปลาหมึก
● น้ำมะนาว
● น้ำตาลทรายขาว
● อายิโนะโมะโต๊ะ พลัส
10 เม็ด
2 – 3 กลีบ
วิธีปรุง
- เลือกพริกจินดา ทำความสะอาดให้ดี คั้นน้ำมะนาวสดเตรียมไว้ หั่นเป็นแว่น นำพริกลงแช่เพื่อไม่ให้ดำ
- หั่นกระเทียมตามลงไป กะเกณฑ์ปรุงรสน้ำปลา น้ำมะนาวที่แช่พริก และน้ำตาล อัตราส่วน 3 : 2 : 1 ใส่ผงชูรสเล็กน้อย ชิมรส
- ขั้นตอนเตรียมจัดเสิร์ฟ ปิดฝาให้สนิทกันลม
เคล็ดลับ
- น้ำปลาสำหรับราดข้าวปลานิลแกะ ให้เติมน้ำสุกเล็กน้อยเท่านั้น พอให้เจือจาง
- เลือกน้ำปลาที่มีฉลากว่า น้ำปลาปรุงรส เพราะว่ามีรสกลมกล่อมพอดี ไม่เค็มแหลม ส่วนผงชูรสต้องเลือกแบบ พลัส ด้วย มีส่วนผสมของไดโซเดียม-5 ไรโบนิวคลีโอไทด์ (I+G) คนไทยส่วนใหญ่ติดรสชาติผงชูรสหนัก จึงต้องเพิ่มความเข้มข้นให้หนักมากขึ้น
- พริกน้ำปลาควรทำวันต่อวัน อายุต้องไม่เกิน 2 วัน ยิ่งเก็บไว้นานสีจะยิ่งเข้มจนดำ และมีคราบเกลือติดภาชนะทำให้ดูไม่น่ากิน
- แช่พริกในน้ำมะนาวเท่านั้น เพื่อป้องกันการเปลี่ยนสีดำจากเอมไซม์ แช่ในน้ำส้มสายชู หรือน้ำมะกรูดได้ แต่อาจจะส่งผลต่อกลิ่นไม่พึงประสงค์ สำหรับค่า pH ที่เหมาะสมในการทำงานของเอนไซม์ฟีนอเลส อยู่ระหว่าง 5 – 7 และเมื่อค่าพีเอช ลดลงเอนไซม์จะถูกยับยั้งการทำงาน เพราะสูญเสียสภาพธรรมชาติ ปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลที่เกี่ยวกับเอนไซม์นี้เป็นปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาล (Browning Reaction) พบในผัก และผลไม้หลายชนิด โดยเกิดขึ้นบริเวณผิวหน้าของอาหาร เมื่อสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศปฏิกริยาออกซิเดชัน (Oxidation)
ขอขอบคุณ
ช่องยูทูป » กินได้อร่อยด้วย